คางคก สัตว์ศักดิ์สิทธิ์บันดาลน้ำฝน

สุวรรณภูมิในอุษาคเนย์เป็นเขตมรสุมต้องพึ่งพาธรรมชาติ ได้น้ำฝนจากฟ้ามาทำนา เรียก “นาทางฟ้า” จึงมีน้ำไม่สม่ำเสมอ ไม่แน่นอน บางปีน้ำมาก บางปีน้ำน้อย ในโองการแช่งน้ำมีโคลงวรรคหนึ่งว่า “น้ำแล้งไข้ ขอดหาย” สลับกันไปกับน้ำท่วม ทำให้คนต้องมีพิธีกรรมขอฝนด้วยวิธีวิงวอน, ร้องขอ จนถึงบงการ เช่น นิทานเรื่องพญาคันคาก (คางคก)
ลาวเรียกคันคาก ไทยเรียกคางคก เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำประเภทเดียวกับ กบ, เขียด,และอึ่งอ่าง ที่คนดั้งเดิมเริ่มแรกยุคดึกดำบรรพ์(หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์) เคารพยกย่องเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ของน้ำและฝน เพราะสัตว์พวกนี้มักปรากฏตัวและส่งเสียงดังเมื่อฝนตกลงมาเป็นน้ำนองทั่วไป
ความเชื่อว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างกบ-คันคาก-คางคก เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มีมาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว พยานหลักฐานมีอย่างน้อย 2 อย่าง คือ
กบสัมฤทธิ์ ประดับอยู่หน้ากลองทอง หรือกลองสัมฤทธิ์ ที่เรียกกันภายหลังว่ามโหระทึก ใช้ตีขอฝน ฯลฯ
คนทำท่ากบ เป็นภาพเขียนสีบนหน้าผา ในถ้ำ และสถานที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ วาดรูปคนแต่กางแขน-ขาทำท่าเหมือนกบ
0 Comments
แสดงความคิดเห็น