คางคกขึ้นวอ เป็นสุภาษิตหมายถึง คนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดี ลืมตัวลืมกำพืด ลืมชาติกำเนิดตัวเอง ดูถูกเหยียดหยามสิ่งที่ตัวเองเคยเป็น สำนวน คางคกขึ้นวอมักใช้เปรียบเทียบคนที่มีนิสัยชอบลืมตัว เมื่อได้ดิบได้ดี มียศศักดิ์เป็นเจ้านายเพราะตำแหน่ง กลับวางตัวไม่น่าคบพอได้ดีแล้วก็ลืมตัว เย่อหยิ่ง เชิดหัว ชูหัว ไม่มองใคร ไม่ให้เกียร์ติใคร เหมือนคางคกขึ้นวอ ลืมตัวลืมกำพืด ลืมชาติกำเนิดตัวเอง ดูถูกเหยียดหยามสิ่งที่ตัวเองเคยเป็น คนแบบนี้คบไม่ได้ และไม่สมควรที่จะคบหามาเป็นมิตร เพราะว่ามักจะดูถูกผู้อื่นอยู่เป็นประจำ จนทำให้คนรอบข้างรู้สึกรำคาญ และรังเกียจ

ถือกันว่า คนที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ไม่เป็นที่นิยมของสังคม ตรงกันข้าม คนที่อ่อนน้อมถ่อมตน คนที่ขี้อาย คนที่ไม่กล้าแสดงตน มักถือกันว่า เป็นคนดี คนสุภาพ เป็นที่นิยมในสังคมไทย คนดีจึงมักหลบอยู่ข้างหลัง ไม่กล้าแสดงตน ไม่กล้าอวดตน ปัจจุบันคงต้องมีการสั่งสอนหรืออบรมให้เยาวชนมีความกล้า กล้าแสดง กล้าอวด แต่ต้องกล้าในทางที่ถูก กล้าในทางที่ไม่เป็นภัยแก่ตน กล้าแสดงความเป็นตัวของตน แต่ต้องมิใช่กล้าจนเกินขอบเขตของความพอดี และความงามตามวัฒนธรรมไทยด้วย ที่มาของสำนวน คางคกขึ้นวอน่าจะมาจาก เป็นการเปรียบเทียบกริยาของคนที่พอได้ดีมักแสดงกริยาอวดดีลืมตัวกับคางคก ที่ลักษณะประจำของคางคกมักจะเชิดหัวชูคางเวลาที่เกิดอะไรขึ้นกับมัน โดยมีเรื่องเล่าว่า

คางคกตัวหนึ่งได้ตามเสด็จพระราชาโดยพระองค์ทรงเมตตาให้นั่งบน วอพระที่นั่งด้วย ครั้นเมื่อคางคกกลับมายังหมู่บ้านของตน คางคกก็ยังเชิดหัวชูคอทำท่าเหมือนยังนั่งอยู่บนวอของพระราชา....